1. Skip to Menu
  2. Skip to Content
  3. Skip to Footer>

เบื้องต้นกับ ESP ในงาน IOT ตอนที่ 1

IOT หรือ Internet of Things  คือการใช้อุปกรณ์ต่างๆทำหน้าที่ตรวจจับสภาพต่างๆที่เราต้องการ  แล้วทำการเชื่อมต่อกันผ่านเครือข่ายใดๆ เช่น 3G, 4G, NB-iOT, LoRa หรือเครือข่ายวิทยุคลื่นสั้น เพื่อรับส่งข้อมูลหรือควบคุมระยะไกล หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าควบคุมผ่าน internet

เริ่มจากสมัยก่อนใช้ Micro controller อย่างเช่น Atmel 8051 เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆเช่น จอ LCD, Dotmatrix, 7-Sigment เป็นต้น แต่การที่จะทำการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นอะไรที่ค่อยข้างยุ่งยากพอสมควร เนื่องจากตัวมันเองไม่สามารถเชื่อมต่อได้ด้วยตรง ต้องมีอุปกรณ์ต่อพ่วงที่เป็น LAN Module เข้ามาช่วยโดยมี TCP Stack สำหรับการช่วยในการเขียนโปรแกรม ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การเกิดของ IOT ค่อนข้างช้า หรืออาจเป็นไปตามยุคสมัยของเทคโนโลยีในเวลานั้น

ต่อมาเข้าสู่ยุคของการเขียนโปรแกรม Micro Controller ด้วยภาษาซี มีคนสร้าง Compiler ขึ้นมา ที่ดังๆกันในยุคนั้นก็ไม่พ้น  IDE Keil C51 สำหรับ Micro Controller AVR, MCS51 แต่ก็ยังไม่ก้าวกระโดดสักเท่าไรหนัก จนมายุคของ Arduino ถือว่าเป็นยุดแห่งการก้าวกระโดดเลยก็ว่าได้ เนื่องจากการเขียนโปรแกรมที่ง่าย มี Library ให้ใช้งานได้อย่างง่ายดาย รวมถึงการชื่อมต่อกับระบบ Internet ด้วย

ถึงแม้ว่า Arduino จะอำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ และเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว แต่ถึงกระนั้นก็ยังคง มีขนาดอุปกรณ์ที่ขนาดใหญ่และกินกระแสไฟฟ้าที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งานมากนัก จึงมีการผลิตฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ ขึ้นมาเยอะในท้องตลาด ไม่ว่าจะเป็น Rapsberry Pi, Nano Pi, ESP8266 เป็นต้น และที่น่าสนใจในขณะนนี้เลยก็คือ ESP32 ที่ตอบโจทย์งานด้าน IOT ได้ค่อนข้างดีเลย เดียวจะมาเล่าให้ฟังในตอนที่ 2 ต่อไป

  KM:ข้อมูลข่าวสารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ



Secured by Siteground Web Hosting