วัดเสนาวงศ์ (วัดท่าบ้งมั่ง)
วัดเสนาวงศ์ หรืออีกชื่อหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกขานกันคือ "วัดท่าบ้งมั่ง" ตั้งอยู่ติดริมแม่น้ำมูล ชุมชนท่าบ้งมั่ง เขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี | |
หลวงพ่อโตโคตะมะ ด้วยความเลื่อมใสและศรัทธาทางวัดเสนาวงศ์ จึงได้ดำเนินการจัดสร้างหลวงพ่อโตโคตะมะขึ้นเมื่อวันที่ 10-15 ธันวาคม 2554 โดยมีพระราชธรรมโกศล เจ้าอาวาสวัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อเป็นประธานอำนวยการจัดสร้าง และได้มีพิธีพุทธาภิเศกหลวงพ่อพระโตโคตมะ และพระสิวลี เทพเจ้าแห่งโชคลาภ ไปเมื่อวันที่14 มีนาคม57 | |
ประวัติหลวงพ่อพระโตโคตะมะ หลวง พ่อภรังสี ได้ค้นพบหลวงปู่โตโคตมะ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีความสำคัญ ซึ่งหลังจากค้นพบแล้ว ก็ได้ ศึกษาค้นคว้าจึงทำให้ได้รู้ว่า หลวงปู่โตโคตะมะนี้ภายในได้บรรจุพระพุทธนขาธาตุ (เล็บมือข้างขวา) ของพระพุทธเจ้า และเป็นกุญแจสำคัญที่นำพาให้ได้พบพระพุทธโลหิตธาตุสืบต่อไป การค้นพบหลวงพ่อพระโตโคตะมะ มูลเหตุแห่งการค้นพบ หลวงปู่โตโคตะมะนี้ ต้องเริ่มต้นกันที่วัดบ้านแสนชะนี ต.พรสวรรค์ อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี ในช่วงปี ๒๕๓๕ หลวงพ่อได้มาสร้างวัดป่าคำบอน ขึ้น ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน และได้ยิน คำร่ำลือ เกี่ยวกับวัดบ้านแสนชะนี ว่าเป็นสถานที่มีอาถรรพ์มาก เพราะไม่มีพระรูปใดไปพักจำพรรษาอยู่ได้เลย พระภิกษุ-สามเณรที่จำพรรษาอยู่ก็มรณภาพ จึงเกิดคำร่ำลือไปต่าง ๆ นานาว่าที่แห่งนี้มีผีดุ เมื่อหลวงพ่อ ได้ยินคำล่ำลือดังนี้แล้วก็เกิดความสนใจอยากจะไปพิสูจน์ให้รู้แน่ชัดว่า การที่พระเณรมรณภาพนั้น มีสาเหตุมา จากอะไร ตกตอนกลางคืนจึงได้เดินทางไปที่วัดบ้านแสนชะนีและได้ไหว้พระสวดมนต์เจริญ ภาวนาอธิษฐานจิตว่า "ถ้าหากสถานที่นี้เป็นพุทธสถานมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์อยู่จริง ข้าพเจ้าไม่หลบหลู่ แต่ขอให้ ปรากฏเกิดขึ้นให้ข้าพเจ้าได้รู้ได้ ประจักษ์ด้วยการเจริญสมาธิภาวนา" พอ อธิษฐานเสร็จหลวงพ่อได้เจริญสมาธิภาวนา ไปได้ประมาณ ๑๕ นาที ก็รู้สึกว่าตัวแข็งขึ้นเคลื่อนไหว ไม่ได้ แต่จิตยังปกตินิ่งอยู่รู้ทุกสภาวะอาการที่เกิดขึ้นอย่างเด่นชัด จึงได้กำหนดจิตอธิษฐานว่า " บุญ บารมีของใครหนอ ถึงมีอานุภาพยิ่งใหญ่ถึงขนาดนี้ ถ้ามีตัวตนอยู่จริง ขอให้ปรากฏเกิดขึ้น ให้ข้าพเจ้าได้รู้ได้เห็นได้ชมเป็นบุญตา เกิดบุญเกิดกุศล ด้วยเถิด " พอ อธิษฐานเสร็จ ก็เห็นหลวงปู่เดินขึ้นมานั่งอยู่ข้าง ๆ อาการตัวแข็งก็หายไป แล้วหลวงปู่ก็ได้เอามือลูบที่ ศีรษะแตะที่หน้าผาก ๓ ครั้ง แล้วก็พูดว่า " ลูกเอ๋ย น่าสงสาร ทำไมหนอถึงเวียนว่ายตายเกิดอยู่บ่อยนัก น่าสงสาร ป่านนี้ถึงได้พบกันได้เห็นกันอีกปู่มานั่งรออยู่ตั้งนานแล้ว " จาก นั้นก็ใช้เวลาสนทนากันเกือบชั่วโมง หลวงพ่อจึงได้ถอนจิตออกจากสมาธิ ตอนนั้นเป็นเวลาเกือบเที่ยงคืน จึงเดินทางกลับวัดป่าคำบอน เพราะช่วงนั้นเป็นช่วงพรรษา หลังจากนั้นมาหลวงพ่อ จึงได้หาโอกาสไปเจริญสมาธิ ภาวนาสอบเรื่องราวรายละเอียดต่าง ๆทำการศึกษาค้นคว้าวิจัย จึงทำให้ได้ทราบถึงประวัติความ เป็นมาของ พระพุทธองค์นี้ที่สถิตอยู่ใต้พื้นดินที่วัดบ้านแสนชะนีแห่งนี้ | |
ในคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระชนมายุ ๕๗ พรรษา ทรงเสด็จมาที่แผ่นดินสุวรรณภูมิแห่งนี้ โดยเสด็จมา ที่ภูเขาหัวช้างเมืองโคตรภู (ปัจจุบันนี้คือยอดลำโดมใหญ่ บ้านแข้ด่อน อ.น้ำยืน) พร้อมทั้งพระอรหันตสาวกอัน ประกอบไปด้วย พระมหากัสสปะ พระอานนท์ พระสิวลี พระมหากัจจายนะ และพระมหาเทวจักรเป็นประธานสงฆ์ ในเขตสุวรรณภมิได้มาถวายการต้อนรับ ในครั้งนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงตัดพระนขา (เล็บ) ทั้ง ๑๐ นิ้ว และได้ พระราชทานพระนขาข้างขวาให้แก่พระมหากัสสปะ ส่วนพระนขาข้างซ้ายเทวดาได้อัญเชิญขึ้นไปเก็บไว้ที่ เทวโลก พระมหากัสสปะได้ทราบพุทธประสงค์แล้ว จึงได้มอบหมายภาระหน้าที่ให้กับพระสิวลี พระมหาเทวจักร ได้ดำเนิน การสร้างพระพุทธรูปเพื่อบรรจุพระพุทธนขา พระสิวลีและพระมหาเทวจักรจึงได้จัดสร้างพระพุทธรูป ซึ่งทำจากทอง คำทั้งองค์ มีขนาดหน้าตัก กว้าง ๒.๙ เมตร เสร็จแล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จกลับไป พระมหากัสสปะ ได้สร้างสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์นี้ไว้ที่เมือง โคตรภู เพื่อให้ประชาชนชาวเมืองโคตภูได้กราบไหว้บูชา สักการะ และได้ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า " โคตะมะ " เนื่อง จากเป็นพระพุทธรูป ที่ภายในบรรจุพระ พุทธนขา จึงเป็นเสมือนหนึ่งตัวแทนแห่งพระบรมศาสดา จากนั้นท่านก็ได้ไปแกะสลักรูปนารายณ์บรรทมศิลป์ แล้วจารึกเป็นภาษา ฮินดีว่า ศรีสุริยะ ไว้เพื่อเป็นหลักฐาน หลังจากนั้นท่านก็ได้เดินทางกลับประเทศอินเดีย ภายหลังจากพุทธปรินิพพาน ชาวเมืองโคตรภู ได้เกิดทำศึกสงคราม เพื่อแย่งชิงพระพุทธรูป เพราะต่างก็อยาก จะครอบครอง จนทำให้บ้านเมืองเสียหายเพราะภัยสงคราม พระพุทธรูปเกิดความศักดิ์สิทธิ์ได้เสด็จลงสู่แม่น้ำ ลำโดม บริเวณวังมน วังฮี ลอยมาตามกระแสแม่น้ำมา มาหยุดอยู่ที่วัดแสนชะนี และจมอยู่ภายใต้พื้นดิน จนถึงปัจจุบัน โดยไม่มีผู้ใดได้ล่วงรู้ถึงพระพุทธรูปโคตมะองค์นี้อีกเลย | |
< ย้อนกลับ | ถัดไป > |
---|